สมุนไพร..คู่ใจเบาหวาน
คู่ใจผู้ป่วยเบาหวาน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการรวบรวมงานศึกษาวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ พบรายงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศรวม 81 เรื่อง มีพืชสมุนไพร 54 ชนิด ที่สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยสมุนไพรที่มากรทดลองนั้นมาจากประสบการณ์การใช้ของชาวบ้านแล้วนำไปทดลองต่อ ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างสมุนไพรที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ดังนี้
1. ช้าพลู (Wild Pepper) ช้าพลู คู่เมี่ยงคำ ผักประจำ คนเบาหวาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb.ex Hunter วงศ์ PIPERACEAE
ช้าพลูเป็นผักพื้นบ้านที่คนนิยมรับประทานสดๆ เป็นส่วนประกอบของเมี่ยงคำ เชื่อกันว่าเป็นอาหารบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร คนอิสานยังเชื่อว่าใบช้าพลูมีสรรพคุณแก้พิษของหอย จึงนิยมทำแกงกะทิหอยใส่ใบช้าพลู ภาคใต้นิยมนำช้าพลูมาช่วยในการย่อยอาหาร ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ ในประเทศไทยมีตำรับยาพื้นบ้านที่ใช้ช้าพลูทั้งห้าต้มแก้เบาหวาน ซึ่งใช้แพร่หลายในชาวบ้าน ต่อมามีการศึกษา โดยต้มช้าพลูทั้งห้า แล้วทดสอบในกระต่าย พบว่าช้าพลูต้มสามารถช่วยลดน้ำตาลได้ดีในกระต่ายที่เป็นเบาหวาน แต่ไม่ลดในกระต่ายปกติ นอกจากนี้ ช้าพลูจัดเป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับการแนะนำผู้ป่วยเบาหวานเนื่องจากมีฤทธิ์แอนตี้อ๊อกซิแด็นท์สูงมาก ทั้งยังมีปริมาณแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินซี สูงมากชนิดหนึ่ง และไม่ลดน้ำตาลในคนปกติอีกด้วย จึงเหมาะสำหรับนำมาทานเป็นอาหาร เป็นชาหรือยาต้มในคนทั่วไปและผู้ป่วยเบาหวาน วิธีใช้ นำช้าพลูทั้งห้า(ทั้งต้นจนถึงราก) 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3 ขัน เคี้ยวให้เหลือ 1 ขัน รับประทานครั้งละ ครึ่งแก้วกาแฟก่อนอาหาร 3 มื้อ สรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
2. มะระขี้นก (Bitter Cucumber) ขมนักผักมะระขี้นก รูปร่างก็ตลก แต่ทั่วโลกยอมรับ กับการแก้เบาหวาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn. วงศ์ Cucurbitaceae มะระขี้นกจัดว่าเป็นสมุนไพรของไทย จีน พม่า อินเดีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ และต่างรู้โดยทั่วกันว่ามีสรรพคุณในการรักษาเบาหวาน และในทุกภาคของไทยมีการใช้มะระขี้นกเป็นผัก ลวกจิ้มน้ำพริกทำอาหารร่วมกับผักอื่นๆ และส่วนใหญ่มักจะลวกก่อนเพื่อลดความขม มะระขี้ยกขึ้นง่ายปลูกเองได้ในบ้าน ยอดอ่อน ผลอ่อนนำมาปรุงอาหารได้ มีวิตามินเอและซีสูว รวมทั้งมีรายงานการศึกษาวิจัยสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือด พบว่า สามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบของน้ำคั้น ชาชง แคปซูล ผงแห้ง มะระชี้นกนั้นออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสของตับ องค์ประกอบทางเคมีของมะระขี้นกที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด คือ p-Insulin , Charantin และ Visine ตำรับยา น้ำคั้นสดมะระขี้นก นำผลมะระขี้นกสด 8-10 ผล เอาเมล็ดในออก ใส่น้ำเล็กน้อย ปั่นคั้นเอาแต่น้ำดื่ม (ประมาณ 100 มล.) หรือรับประทานทั้งกากก็ได้ แบ่งรับประทานวันละ3เวลา ต่อเนื่อง ตำรับยา ชามะระขี้นก เอาเนื้อมะระขี้นกผลเล็กซึ่งมีตัวยามากมาผ่าเอาแต่เนื้อหั่นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้งแล้วชงกับน้ำเดือด โดยใช้ชินมะระ 1-2 ชิ้น ต่อน้ำ 1 ถ้วย ดื่มแบบชาครั้งละ 2 ถ้วย วันละ 3 เวลา หรือต้มเอาน้ำมาดื่มก็ได้ หรือ ใส่กระติกน้ำร้อนต้มดื่มแทนน้ำ ไม่เกิน 1 เดือน เห็นผล ตำรับยา ทำแคปซูล หรือลูกกลอน มะระขี้นก รับประทานมะระขี้นก 500-1000 มก. วันละ 1-2 ครั้ง ข้อควรระวัง คนท้อง เด็ก คนที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรรับประทาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น