วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วีธีลดไข้ลูกน้อย

ทุกครั้งเมื่อลูกมี “ไข้” นับเป็นความกังวลใจของพ่อแม่ และหากยิ่งลูกมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป ก็ยิ่งสร้างความวิตกกังวลว่าลูกอาจชัก ดั้งนั้นพ่อแม่จึงควรเตรียมตัวเพื่อรับมือพร้อมป้องกันลูกน้อยของเรา



 การให้ยาลดไข้ : ยาลดไข้ส่วนใหญ่ที่ใช้ในเด็ก คือยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ให้สังเกตบนฉลากยาถึงขนาดยาที่ใช้ คำนวณตามน้ำหนักตัวเด็ก โดยทั่วไปในแต่ละครั้งจะใช้ในขนาด 10 มก. ต่อน้ำหนักตัว และไม่เกินกว่า 1,000 มก. ในแต่ละครั้ง สมุนไพรไทย

 การให้ยาน้ำเขากุย: สามารถให้ควบคู่กับยาพาราเซตามอลได้เลย เด็กโตเกิน 2 ปี สามารถทานได้วันละ 1 ขวดในช่วงที่มีไข้ได้เลย การเช็ดตัว : เป็นกระบวนการนำความร้อนออกจากร่างกาย โดยอาศัยการพาความร้อนของน้ำ ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 27-37 องซาเซลเซียส ที่ไม่เกิน 40 องซาเซลเซียส

 จะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้ระบายความร้อนได้ดี ดื่มน้ำมากๆ : กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อชดเชยน้ำส่วนที่ร่างกายสูญเสียเพิ่มขึ้นในระหว่างที่มีไข้ ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย :

ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนา หรือห่มผ้าหนาๆ เพราะจะทำให้ร่างกายระบายความร้อนได้ยาก พักผ่อนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก : ในอุณหภูมิห้องที่ไม่ร้อนไม่เย็นเกินไป

 การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ สิ่งที่ต้องเตรียม 

1.อ่างใส่น้ำ

2. ผ้าขนหนูผืนเล็ก 2-4 ผืน

3. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่

 วิธีเช็ดตัว 
ถอดเสื้อผ้าเด็กออกก ในห้องที่มีอุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กในอ่างแล้วบิดหมาดๆ เช็ดตามผิวแรงพอประมาณ   บ้านเช่า ห้องเช่าอรัญ

 ตามขั้นตอนดังนี้   
 เช็ดบริเวณหน้าและพักไว้ที่ซอกคอ หลังหู นาน 2-3 นาที แล้วนำผ้ามาชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดบริเวณหน้าผากและศีรษะ แล้วพักผ้าไว้ที่หน้าผากนาน 2-3 นาที ทำสลับกัน เช็ดบริเวณแขนทั้งสองข้าง โดยเริ่มเช็ดจากปลายแขนเข้าหาตัว เซ็ดซ้ำๆ แล้วพักผ้าไว้บริเวณรักแร้ นาน 2-3 นาที แล้วชุดน้ำอีกครั้งเช็ดตามลำตัว แล้วพักผ้าไว้บริเวณหน้าอก นาน 2-3 นาที ทำสลับกัน เช็ดขาทั้งสองข้าง โดยเริ่มเช็ดจากปลายขาเข้าหาลำตัวซ้ำๆ แล้วพักผ้าไว้ที่ข้อเข่าหรือขาหนีบ นาน 2-3 นาที เช็ดด้านหลัง โดยตะแคงตัวเด็ก เช็ดซ้ำหลายๆ ครั้งตั้งแต่คอจนถึงบริเวณก้น ให้รองตัวเด็กด้วยผ้าแห้ง เพื่อลดความไม่สบายตัว ให้เปลี่ยนน้ำใหม่เมื่อน้ำในอ่างเย็นลง ให้เช็ดตัวแต่ละรอบนานประมาณ 15-20 นาที จนรู้สึกว่าตัวเด็กเย็นลง ใช้ผ้าเช็ดตัวให้แห้งและสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายความร้อนได้ดี ให้วัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำ หลังจากเช็ดตัวเสร็จ 30 นาที แล้วให้เช็ดซ้ำเมื่อมีไข้สูง

พืชถอนพิษ

ว่านไฟ


 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe, Aloe vera Linn. varchinensis (Haw.) Berg ชื่อวงศ์ : ALOACEAE

 ชื่ออื่น : ว่านหางจระเข้ไหม้, หางตะเข้ 

รูปลักษณะ : ว่านไฟ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อย เป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้ สมุนไพรไทย

 สรรพคุณของ ว่านไฟ : วุ้นสด ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุดของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดสะอาด ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล หรือขูดเอาวุ้นใสปิดพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และการฉายรังสี อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้นใหม่วันละครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย ใช้วุ้นสดกินรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อ บริเวณที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง น้ำยางสีเหลืองจากใบ เคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำ เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่

นมสวรรค์

 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum paniculatum Linn.

ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE

ชื่ออื่น : ฉัตรฟ้า, สาวสวรรค์, พวงพีเหลือง, หังลิง, พนมสวรรค์

รูปลักษณะ : นมสวรรค์ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 7-38 ซม. ยาว 4-40 ซม. ขอบใบหยักเว้า ลึก 3-7 แฉก ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูประฆังสีส้มแดง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว สีส้มแดง ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สีน้ำเงินแกมเขียวหรือดำ

 สรรพคุณของ นมสวรรค์ :
 ดอก แก้พิษสัตว์กัดต่อย และพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ แก้ตกเลือด ราก ขับลม แก้วัณโรค แก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการไข้ที่ถ่ายเหลว อาเจียนเป็นเลือด และมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ต้น แก้อักเสบเนื่องจากตะขาบ และแมลงป่องต่อย แก้พิษฝีผักบัว บ้านพัก บ้านเช่า ในอรัญ

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พืชสมุนไพร ประเภท ยาแก้ไข้ ลดความร้อน


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asiatic Pennywort, Tiger Herbal, Centella asiatica (Linn.) Urban

 ชื่อวงศ์ : APIACEAE ชื่ออื่น : ผักแว่น, ผักหนอก

 รูปลักษณะ : บัวบก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้

 สรรพคุณของ บัวบก :

 ใบสด ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (Keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, กรด Asiatic และ Asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย สมุนไพรไทย


ฟ้าทะลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees.

 ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE ชื่ออื่น : ฟ้าทะลายโจร, หญ้ากับงู, น้ำลายพังพอน

 รูปลักษณะ : ฟ้าทะลาย เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. ทั้งต้นมีรสขม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. สีเขียวเข้ม เป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ปากล่างมี 2 กลีบ ผลเป็นฝัก สีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก ดีดเมล็ดออกมา สรรพคุณของ ฟ้าทะลาย : ใบและทั้งต้น ใช้เฉพาะส่วนที่อยู่บนดิน ซึ่งเก็บก่อนที่ดอกจะบาน เป็นยาแก้ไข้ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย เป็นยาขมเจริญอาหาร ขนาดที่ใช้คือ พืชสด 1-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง หรือใช้พืชแห้งบดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นยาลูกกลอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. กินครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูลๆ ละ 500 มิลลิกรัม ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น อาการข้างเคียงที่อาจพบคือ คลื่นไส้

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ฟ้าทะลายโจร...สมุนไพรพิชิตไข้หวัด



ท่ามกลางกระแสของไข้หวัด 2009 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้กระทรวงสาธารณสุขและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยว ข้องกับสุขภาพทั้งในบ้านเราและในต่างประเทศต้องตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวเช่นกัน

 ซึ่งนอกจากการรักษาในแผนปัจจุบัน แล้ว สมุนไพรก็เป็นอีกทางเลือกที่ได้รับความสนใจ และสมุนไพรที่โดดเด่นอยู่ในขณะนี้คือ “ฟ้าทะลายโจร” ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรไทยที่มีการใช้กันมานาน มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ท้องร่วง เป็นยาธาตุ บำรุงกำลัง และถูก บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2549 

โดยมีข้อบ่งชี้ว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการของโรคหวัด เช่น เจ็บ คอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำมูกไหล ซึ่งโรงพยาบาลสามารถสั่งจ่ายทดแทนหรือเสริมการรักษาร่วมกับยาแผน ปัจจุบันได้ 

สำหรับงานวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิผลในการรักษาหรือป้องกันอาการหวัด พบว่า การรับประทานยาเม็ด ฟ้าทะลายโจร ขนาด 200 มก./วัน ติดต่อกัน 3 

เดือน สามารถป้องกันการเกิดหวัดได้ถึง 33% โดยพบอัตราการเป็นหวัด เหลือเพียง 20% เมื่อรับประทานในขนาด 3-6 ก./วัน นาน 7 วัน ทำให้อาการไข้และเจ็บคอลดลง ไม่ต่างจากการใช้ยาพารา เซตามอล มีการศึกษาการใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรร่วมกับสารสกัดโสมไซบีเรีย (Acanthopanax senticosus) ในขนาด 1200 มก./วัน ซึ่งมีสาร andrographolide (สารสำคัญในฟ้าทะลายโจร) 48-60 มก./วัน พบว่าสามารถรักษาอาการที่เกิดจากหวัด เช่น เจ็บคอ มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ คอแห้ง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ  สมุนไพรไทย

นอกจากนี้ยังลดอาการเหนื่อย นอนไม่หลับ ความรู้สึกไม่สบายตัว ทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น และฟ้าทะลายโจรยังมีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียอย่างอ่อน จึงทำให้ฟ้าทะลายโจรสามารถใช้ป้องกันและรักษาไข้หวัดทั่วไปที่ไม่อาการรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขนาดที่แนะนำให้รับประทานตามที่ระบุในบัญชียาหลักแห่งชาติ คือ รับประทานวันละ 3-6 ก. แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หลัง อาหารและก่อนนอน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ 

และรับประทานวันละ 1.5-3 ก. แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เพื่อบรรเทาอาการหวัด อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาฟ้าทะลายโจรคือ ทำให้ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดเอว วิงเวียนศีรษะ และใจสั่น ข้อควรระวังในการใช้โดยการฉีดหรือใช้ขนาดสูงคือ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ลมพิษ 

จนถึง อาการแพ้ขั้นรุนแรงและช็อค สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจให้เกิดการแท้ง ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน (ไม่ควรเกิน 7 วัน) เพราะอาจทำให้แขนขาชาหรืออ่อนแรงได้ หากใช้ติดต่อกัน 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงระหว่างการ ใช้ยา ควรหยุดใช้และไปพบแพทย์

สมุนไพร - ช่วยป้องรักษาและป้องกันไข้หวัด คัดจมูก ตัวร้อนเป็นไข้


สมุนไพร - ช่วยป้องรักษาและป้องกันไข้หวัด คัดจมูก ตัวร้อนเป็นไข้ 


 1 ขิง

 2 น้ำส้มค้้น

 3 หัวผักกาด หรือหัวไชเท้า

 4 กะเพรา

 5 โหระพา

 6 หอมแดง

 7 ขมิ้นชัน

 8 อ้อย

 9 มะระ

 10 มะเขือยาว  สมุนไพรไทย










วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แคนา ยอดสมุนไพรไทยจากท้องนา



เมื่อไม่กี่วันมานี้เป็นวันหยุดยาว ผมเองก็ได้มีโอกาศกลับบ้าน หลีกหนีชีวิตจำเจในเมือง ไปหาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ ช่างเป้นช่วงที่เรียบง่ายและมีความสุขจริงๆ อาหารการกินก้เป้นแบบง่ายๆ

 ลวกผักจิ้มน้ำพริก ที่พอหาได้ตามท้องถิ่น แต่พืชผักหลายชนิดที่นำมาทานกันนั้น บางชนิดจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่หาทานยากทีเดียว ซึ่งสมุนไพรในวันนี้ที่ผมจะแนะนำให้ท่านรู้จักเป้นสมุนไพรที่ผมมีโอกาศได้ลองไปเก็บสดๆจากต้น นั่นก็คือแคร์นา นั่นเอง แคนา 

จากรูปที่ทุกท่านเห็นนี้ฝีมือในการถ่ายของผมอาจจะไม่เข้าขั้นเท่าไหร่ แต่ดูปุ๊บก็พอจะรู้ว่าเป็นต้นแคนา (ตามชื่อเลยครับ อยู่กลางนาก็เลยมีชื่อว่าแคนา บางทีเขาก็เรียกแคป่า) ที่เห็นหล่นขาวๆที่พื้นนั้นแหละครับคือดอกแคนา ยอดสมุนไพรไทยของเรา ดอกแคนาจะต่างจากแคร์บ้านชัดเจน

ผมเคยเห็นเขาขายกันที่ตลาดกำละ 5 บาท นับดอกได้ 10ดอกได้ แต่ที่นี่ถ้าใครอยากได้มีให้เก็บให้กินแบบบุปเฟ่ครับ ตามปรกติของเว็บนี้ข้อมูลสมุนไพรจะเสนอเป็นระบบ มีข้อมูล
วิทยาศาสตร์ชัดเจน สำหรับหลายๆท่านนำไปอ้างอิง สำหรับครั้งนี้ก็เช่นกัน ข้อมูลของแคร์นามี

ชื่อสมุนไพร แคนา 

ชื่ออื่นๆ แคป่า (น่าจะมาจากการที่พบในป่า) แคขาว
 (ชื่อนี้มาจากลักษณะดอกสีขาวครับ) แคเค็ตถวา
 (ชื่อถิ่น จ.เชียงใหม่) แคทราย
(ชื่อถิ่น จ. นครราชสีมาหรือภาคอีสานบางพื้นที่)  สมุนไพรไทย
แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
 ชื่อพ้อง Stereospermum serrulatua DC.
 ชื่อวงศ์ Bignoniaceae


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 ดอกแคนา ลำต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ลำต้นตรง มักแตกกิ่งต่ำ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมี ขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร ผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร

กระชาย สมุนไพรสำหรับท่านชาย

กระชายพืชชนิดนี้เอง มีชื่อเสียงมานาน โดยเฉพาะเป็นสมุนไพรที่ได้ชือว่า สมุนไพรเพื่อเพิ่มสมรถภาพทางเพศ ทุกวันนี้เรื่องเพศเป็นเรื่องที่เปิดกว้าง สามรถคุยกันได้อย่างเปิดเผย ปัญหาทางเพศก็เช่นกัน สำหรับท่านที่มีปัญหา สมุนไพรตัวนี้สามารถช่วยได้ นอกจากนั้นประโยชน์ด้านอื่นๆของกระชายก็มีมากเช่นกัน


กระชาย

 ชื่อวิทย์ Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr.
ชื่อวงศ์ Fam. : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
กระแอน ระแอน (ภาคเหนือ)
ขิงทราย (มหาสามคาม)
จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
 เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะทั่่วไป

 ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นมีความสูง ประมาณ 90 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็น แกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบ มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดินออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30 – 35 ซม. ดอก มีสีม่วงแดง ดอกออกเป็นช่อ กลีบรอง กลีบดอกเชื่อมติดกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว เกสรตัวผู้ จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปาก แตรเกลี้ยงไม่มีขน การขยายพันธุ์ จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือ หัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว และดินลูกรังไม่เหมาะสมที่จะปลูก ส่วนที่ใช้ รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน สมุนไพรไทย

สรรพคุณ

 ในตำรายาไทย จัดให้กระชายเป็นยาครอบจักรวาล กินแล้วกระปรี้กระเปร่า เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร เราใช้กระชายทั้งหัวทั้งราก เป็นทั้งอาหารและเป็นยา สรรพคุณทางยาที่ได้จากตำรายาวัดโพธิ์ให้รายละเอียดว่า กระชายเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง-แดง เจ็บปวดบั้นเอว แก้ปวดมวนท้อง แก้ใจสั่น แก้ระดูขาว บำรุงกำลัง และบำรุงกำหนัด สำหรับหัวกระชาย หมอโบราณเอามาเผาไฟ แล้วฝนกับน้ำปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้โรคที่เกิดในปาก ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ปากแตก รากกระชาย คนโบราณเรียกว่านมกระชาย กินแล้วจะทำให้กระชุ่มกระชวย มีกำลังและใช้กับอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ เมื่อสรรพคุณของกระชายทำให้มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า แถมยังแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย หมอไทยโบราณจึงเรียกกระชายว่า “โสมไทย”


ข้อมูลงานวิจัยในเรื่องกระชาย

 จากงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากกระชายในแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและเชื้อราในปากได้ดีพอสมควร ทั้งหมดนี้เป็นสรรพคุณของกระชายแบบธรรมดา ๆ นี่แหละ ไม่มีตำรามาตรฐานเล่มไหนที่กล่าวถึง “กระชายดำ” ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวขวัญกันมากในสมัยนี้ แต่เราก็เห่อกระชายดำเสียจน ผู้เขียนถูกถามบ่อย ๆ ว่ากระชายดำดีอย่างไร กินแล้วจะมีผลเสียหรือไม่ ค้นจากหนังสือชื่อ กระชายดำ ของสถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2547 เขาเขียนไว้ว่า กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคบิด ปวดท้อง ว่ากันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผมดำ ตาแจ่มใส ผิวเต่งตึง ทำให้กระชุ่มกระชาย บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แถมยังใช้ในด้านอยู่ยงคงกระพันได้ด้วย ถามอาจารย์ประกอบ อุบลขาว แพทย์แผนไทยชื่อดังในสงขลา อาจารย์อธิบายว่า กระชายเป็นยาดี บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยิ่งไข่กระชาย (เหง้า) ยิ่งมีคุณภาพดีที่สุด แต่กระชายดำซึ่งเป็นไม้ป่ามาทีหลัง อาจารย์ว่าหัวของมันเหมือนขิงเสียมากกว่า น่าจะเรียกว่าขิงดำเสียด้วยซ้ำ ส่วนสรรพคุณก็เป็นเรื่องที่ว่ากันไป อาจารย์ว่าสู้กระชายดั้งเดิมไม่ได้หรอก ถามอาจารย์ ศ. ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ผู้เชี่ยวชาญทางชีวเคมีถึงความแตกต่างของกระชายธรรมดากับกระชายดำ อาจารย์ก็บอกว่าสีม่วงเกือบดำของกระชายดำนั้นคือสารโพลีฟีนอลตัวหนึ่งที่เรียกว่าแอนโทไซยานีน น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่กินกระชายดำแล้วรู้สึกซู่ซ่านั้น อาจารย์บอกว่านั่นเป็นเพราะกระชายดำทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีงานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์พบว่ากระชายดำทำให้องคชาติแข็งตัวขึ้นมาได้จริง ส่วนกระชายธรรมดา หรือกระชายขาวที่มีบันทึกว่าบำรุงกำหนัดนั้นก็เกิดจากผลทางสรีระวิทยาอย่างเดียวกัน เรื่องนี้ก็เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ และคงมีการค้นคว้าต่อไป ส่วนผลเสียของกระชายดำนั้นยังไม่มีใครรายงาน ถ้าใช้เป็นประจำและใช้ไปนาน ๆ จะเกิดอะไรขึ้นก็ยังไม่มีใครทราบ ยังไม่มีใครบันทึกอะไรไว้ ก็เลยเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป จากข้อมูลของสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวถึงพิษวิทยาของกระชายดำว่าหากหนูขาวกินกระชายดำ 13.33 กรัม /กก. จะทำให้ถึงตายได้ ถ้าจะเทียบเป็นปริมาณในคนก็คือ ไม่ควรกินเกินครั้งละประมาณ 5-6 ขีด นั่นแสดงว่าการใช้กระชายดำก็ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีพิษเสียเลยทีเดียว แต่การใช้กระชายดำเขาใช้ทีละน้อย เช่นกินครั้งละ 15 กรัม หรือใช้กระชายดำ 4-5 ขีดไปดองเหล้า 1 ขวดแล้วกินครั้งละเพียง 30 ซีซี จึงไม่ทำให้เกิดอันตราย ส่วนปัญหาที่ว่า หากกินเป็นประจำจะมีพิษสะสมหรือไม่ รายงานการวิจัยจนถึงทุกวันนี้ก็ยังให้คำตอบไม่ได้ แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ หากหนูขาวตัวเมียกินกระชายดำเป็นประจำ มันจะมีคอเลสเตอรอลสูง แถมมีระดับโซเดียมในเลือดสูงอีกด้วยจนน่าห่วงว่าความดันเลือดจะสูงได้ ดังนั้นใครจะมาอ้างว่ากระชายดำลดคอเลสเตอรอลได้ ลดความดันเลือดได้ ให้ฟังหูไว้หู เอาเถอะ อาจจะสรุปได้ว่า “กระชาย(เฉย ๆ)” เป็นยาดีเทียบได้กับโสม ส่วน “กระชายดำ” ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สีม่วงเข้มเกือบดำของกระชายดำทำให้เป็นที่น่าสนใจ