ข่า ขับลม ขับเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
สำนวนไทยสำนวนนี้คงเป็นสำนวนที่คนไทยส่วนไทย(สมัยนี้)คุ้นเคยเป็นอย่างดี หมายถึง “ต่างก็จัดจ้างพอๆกัน ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอๆกัน ต่างไม่ยอมลดละกัน” (อ้างอิงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525) ข้อมูลสมุนไพรเพิ่มเติม
ข่า เป็นพืชล้มลุกอยู่ในวงศ์ Zinggiberaceae เช่นเดียวกับขมิ้นและขิง ชื่อในพฤกษ์ศาสตร์คือ Alpinia galanga(Linn.) Wild. มีลำต้นใต้ดิน ส่วนบนดินมีลำต้นเทียมที่เกิดมาจากก้านใบสูงประมาณ 1-2 เมตร แตกหน่ออกเป็นกอ ใบเป็นรูปไข่ยาวออกสลับกัน ดอกมีสีขาวประจุดม่วงแดงออกตรงปลายยอดเป็นช่อ ผลของข่ามีขนาดเล็กสีเขียว ข่ามีชื่อในทางสมุนไพรว่า กฏุกกโรหินี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Greater galangal ข่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยและเพื่อนบ้าน ในประเทศจีนและอินเดียมีพืชลักษณะเดียวกันแต่เป็นคนละชนิด สมุนไพรไทย
ข่าในรูปอาหารไทย คนไทยนิยมนำข่ามาปรุงอาหารมากที่สุดในโลก(ก็เพราะมันมีถิ่นกำเนิดที่ไทย) นอกจากส่วนช่อดอกของข่าที่จะนำมาจิ้มโดยตรงแล้ว ยังมีการนำเอาส่วนที่เป็นลำต้นใต้ดินมาปรุงอาหารไทยหลายชนิด ถ้าหากไม่นำข่ามาปรุงอาหารไทย รสชาติของอาหารไทยคงจะผิดแปลกไปจากปัจจุบันอย่างมาก เนื่องลำต้นใต้ดินของข่านี้มีคุณสมบัติชอบดับกลิ่นคาวของเนื้อ และมีน้ำมันระเหยซึ่งมีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดเฉพาะตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น