การดูแลผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ด้วยการแพทย์ผสมผสาน
ด้วยการแพทย์ผสมผสาน การแพทย์แผนจีน โรคเก๊าท์จัดเป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อย โดยการแพทย์แผนปัจจุบัน กล่าวถึงสาเหตุของโรคนี้ว่า เ
กิดจากความผิดปกติในขบวนการเมตาบอลิซึมของกรดยูริกในร่างกายเป็นผลให้กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติและตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรตสะสมในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายแต่สำหรับการแพทย์แผนจีนกล่าวถึงกลุ่มอาการ"ปี้เจิ้ง"ว่า
เกิดจากการไม่ไหลเวียนของ "ชี่หรือ ปราณ" ซึ่งมีสาเหตุมาจากความอ่อนแอของร่างกาย และปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรค ได้แก่ ลมความเย็นและความชื้น รวมทั้งเป็นผลมาจากการบาดเจ็บและการไม่ออกกำลังกาย ดังนั้น แนวทางการรักษา จึงใช้วิธี สมุนไพรไทยเพิ่มเติ่ม
ดังนี้ การฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ มีจุดประสงค์เสริมหน้าที่ของม้ามและกระเพาะอาหารให้แข็งแกร่งเพื่อช่วยขจัดความชื้นก่อโรคทะลวงเส้นลมปราณที่ติดขัดอาจใช้การฝังเข็มลึกร่วมกับการรมยาหากมี
อาการปวดรุนแรงให้พิจารณาใช้เข็มสอดผิวหนังคาไว้หรือใช้การรมยาคั่นขิงซึ่งอาจใช้จุดฝังเข็มที่มีความสัมพันธ์กับข้อที่อักเสบหรือเลือกตามเส้นระบบลมปราณ เช่นHouXi (SI3) ร่วมกับShenMai (BL62)หรือDaBao (SP21)ร่วมกับGeShu (BL17) การรักษาด้วยเข็มผิวหนังร่วมกับครอบกระปุก โดยใช้เข็มผิวหนังเคาะอย่างแรงจนเลือดซึมบริเวณข้อที่มีปัญหาแล้วตามด้วยการครอบกระปุกตรงบริเวณที่เคาะเข็มผิวหนังวิธีนี้เหมาะกับการรักษาผิวหนังและกล้ามเนื้อขัดคล่องที่มีอาการชา,กระดูกขัดคล่องที่มีอาการตึงแข็งและเคลื่อนไหวได้จำกัดหรือข้อผิดรูป
การบำรุงร่างกาย หลีกเลี่ยงปัจจัยก่อโรค เช่น ลมความเย็นและความชื้น การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของ "ชี่ หรือ ปราณ" การทานอาหาร หรือสมุนไพร เช่น "โกศหัวบัว"ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือดขับลมในเลือด
ระงับปวด, "กันเฉ่า" บำรุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ , "ตังกุย"มีสรรพคุณบำรุงเลือดช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น นอกจากนี้ ให้งดพืชและอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น ชะเอม กระถิน
แตงกวาหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด ดอกกะหล่ำ ถั่วงอก ยอดแค ดอกสะเดา สาหร่าย ยอดผักต่างๆเป็นต้น และแนะนำให้ลดอาหารจำพวกสัตว์ปีกเครื่องในสัตว์ทุกชนิด เช่น กะปิที่มีน้ำสกัดจากเนื้อ กุ้ง หอย และกุนเชียง ไส้กรอกปลาซาร์ดีน และไข่แมงดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น