วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร

สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร



นานาสาระเพื่อสุขภาพที่ดี
  สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร

  1.ขมิ้นชัน ขมิ้นเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง การศึกษาพบว่าขมิ้น ไม่มีพิษเฉียบพลันและไม่มีผลในด้านก่อกลายพันธุ์ และในการวิจัยทางคลินิกของ ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์และคณะ (2529) ได้ศึกษาเคมีเลือดผู้ป่วยที่รับการ ทดลองจำนวน 30 คน ก่อนและหลังรับประทานขมิ้นติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในผลเคมีเลือดที่บ่งถึงการตรวจหน้าที่ตับและไต และฮีมาโตโลยี ส่วนผลแทรกแซง พบอาการท้องผูก ราย แพ้ยามีผื่นที่ผิวหนัง 2 ราย

วิธีการใช้ขมิ้นรักษาโรคกระเพาะ ขมิ้นใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารโดยการนำเหง้าแก่สดล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล เก็บไว้ในขวดสะอาดและมิดชิด รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน บางคนรับประทานขมิ้นแล้วอาจมีอาการแพ้ขมิ้น เช่นคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัวนอนไม่หลับ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทน

  2.กล้วยน้ำว้า วิธีใช้กล้วยรักษาโรคกระเพาอาหาร นำกล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดประมาณ 2 วัน หรืออบให้แห้งในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และบดเป็นผง สมุนไพรไทยรักษาโรค

วิธีรับประทานโดยการนำผงกล้วยดิบครั้งละครึ่งถึงหนึ่งผล ชงน้ำหรือผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มหรือนำผงกล้วยดิบมาปั้นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน รับประทานแล้วอาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ ป้องกันได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย เป็นต้น

  3.ว่านหางจระเข้ ใช้ใบสดที่เพิ่งตัดออกจากต้น นำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกส่วนที่มีสีเขียวออกให้หมดเหลือแต่วุ้นใส หากมียางสีเหลืองติดที่วุ้นให้ล้างออกก่อน หั่นวุ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 3 นิ้ว ล้างให้สะอากอีกครั้ง กินวันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้า เย็น

  4.กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบายและสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย แต่ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน

วิธีใช้กระเจี๊ยบเขียวรักษาโรคกระเพาอาหาร ใช้ผักลวกกินน้ำพริกทุกวัน เมือกลื่นๆ ในผลกระเจี๊ยบเขียว ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้

  5.หัวปลี หัวปลี ถือเป็นอาหารบำรุงน้ำนมของผู้หญิงที่กำลังมีบุตร ดังนั้นคุณแม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูกก็ควรจะกินอาหารที่มีหัวปลีเป็นส่วนประกอบ ให้มากๆ ระหว่างที่ยังให้นมลูก และนอกจากนั้นก็ยังมีแร่ธาตุอย่างธาตุเหล็กอยู่มากอีกด้วย และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีผลวิจัยพบว่าหัวปลีนั้นยังช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารได้ด้วย โดยการทดลองนั้นพบว่าการใช้สารสกัดจากหัวปลีสามารถป้องกันการเกิดแผลใน กระเพาะอาหารได้มากถึง ๔๗.๘๘-๘๗.๖๓% โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการดื่มสุราอยู่เป็นประจำ

  วิธีใช้หัวปลีเขียวรักษาโรคกระเพาอาหาร นำปลีกล้วยน้ำว้ามาเผา แล้วบีบเอาแต่น้ำ ได้ประมาณครึ่งแก้ว ดื่มก่อนอาหาร รสชาติฝาดเฝื่อน กินยากมาก แต่มีตนกินติดกันประมาณ 3 วัน อาการปวดกระเพาะที่อักเสบเรื้อรังมานานหายสนิท ขอขอบคุณข้อมูลจาก

:@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

รักษาโรคกระเพาะ ด้วยสมุนไพรลดธาตุไฟ "โรคกระเพาะ" หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร หมายถึง แผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารส่วนที่สัมผัสกับน้ำย่อย มักมีอาการปวดแสบ ปวดตื้อ ปวดเสียด หรือจุกแน่น ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดเหล่านี้ เป็นได้ทั้งเวลาก่อนกินอาหาร หรือหลังกินอาหารใหม่ๆ และเวลาท้องว่าง บางคนอาจเป็นๆ หายๆ เวลาเป็นมักจะปวดนานครั้งละ 15-30 นาที วันละหลายครั้งตามมื้ออาหาร อาการปวดจะลดลงถ้าได้กินข้าว ดื่มน้ำ ดื่มนม หรือกินยาลดกรด

  สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ เชื่อกันว่าส่วนใหญ่มาจากการมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ซึ่งอาจมีผลมาจากความเครียด ความวิตกกังวล การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กินอาหารไม่เป็นเวลา อาหารรสจัด รวมทั้งปัจจัยทางกรรมพันธุ์เป็นสาเหตุหลัก นอกจากนี้ ยังเกิดจากการที่เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง อันเป็นผลมาจากการกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ รวมทั้งการติดเชื้อ "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร" (Helicobacter) เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร น้ำ ที่มีเชื้อตัวนี้อยู่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน เพราะเชื้อนี้ทำให้ผนังกระเพาะอาหารอ่อนแอลง จึงมีความทนต่อกรดและน้ำย่อยลดลง

  ในทางการแพทย์แผนไทย การที่มีกรดมากเกินไป การเป็นแผลในกระเพาะอาหาร การมีเลือดออก คือ การกำเริบของธาตุไฟ 

กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่ไวต่ออารมณ์ความรู้สึกมากที่สุด โรคกระเพาะจึงเป็นผลพวงของความผิดปกติของวาตะได้มากเช่นกัน ดังนั้น คนที่มีแต่ความเครียด คิดมาก วิตกกังวล เช่น นักธุรกิจที่ต้องแข่งขันสูง นักศึกษาที่เครียดจากการเรียนการสอบ มักจะป่วยเป็นโรคกระเพาะ เนื่องจากความเครียดจะทำให้ผนังกระเพาะบางลง เลือดไปเลี้ยงกระเพาะน้อยลง การหลั่งกรดไม่สม่ำเสมอ บางครั้งมากไป บางครั้งน้อยไป ซึ่งเป็นผลเสียทั้งสองแบบ ถ้ากรดหลั่งมากไปก็นำไปสู่การย่อยผนังกระเพาะ ถ้าน้อยไปอาหารก็จะไม่ย่อย เกิดการหมักหมม เกิดแก๊สนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะได้เช่นกัน กล่าวคือ แม้ความผิดปกติจะเริ่มจากธาตุลม แต่ก็นำไปสู่การกำเริบของธาตุไฟได้เช่นกัน

การรักษา มุ่งเน้นการปรับสมดุลโดยใช้ทั้งอาหาร ยาสมุนไพร การออกกำลังกาย การฝึกจิต โรคกระเพาะเป็นโรคหนึ่งที่จะต้องรักษาแบบองค์รวม เริ่มจากการปรับการทำงานของธาตุลม โดยการฝึกทางจิต ฝึกการหายใจ เพื่อลดความเครียด ทำให้จิตใจปล่อยวาง ในส่วนของการปรับสมดุลของธาตุไฟ ต้องงดอาหารที่จะไปเพิ่มธาตุไฟเช่น ของหมักดอง อาหารรสจัด อาหารมัน อาหารทอด อาหารรสหวานจัด เหล้า บุหรี่ สมุนไพรไทยต่างๆ

นอกจากนี้ต้องกินอาหารที่ไม่ไปรบกวนการทำงานของธาตุ เช่น อาหารย่อยง่าย ผักสด เป็นต้น การใช้สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะ มุ่งเน้นการลดธาตุไฟ เป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเย็น รสขม มีคุณสมบัติหล่อลื่น ช่วยรักษาแผล เช่น วุ้นว่านหางจระเข้ รากสามสิบ กระเจี๊ยบมอญ บัวบก กะหล่ำปลี ชะเอม บอระเพ็ด กล้วยหักมุก หรือกล้วยน้ำว้าแก่จัด (ไม่ใช้กล้วยหอมเนื่องจากกล้วยหอมมีคุณสมบัติร้อน) และในส่วนของเครื่องเทศ เพื่อเป็นการเพิ่มอัคนีหรือไฟธาตุในการช่วยย่อยอาหาร ขมิ้นชันจึงเป็น
สมุนไพรที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะไม่ร้อนมากเกินไป ทั้งยังช่วยรักษาแผล ลดการหลั่งของกรดได้อีกด้วย

  ยังมีสมุนไพรที่น่าสนใจดังนี้

  1. ว่านหางจระเข้ สามารถใช้วุ้นว่านหางจระเข้รักษาโรคกระเพาะได้เช่นกัน

  2. กะหล่ำปลี แม้ว่ากะหล่ำปลีจะไม่ใช่สมุนไพรไทยมาแต่เดิม แต่หมอชาวโรมันใช้กะหล่ำปลีรักษาโรคกระเพาะอาหาร อาการนอนไม่หลับ อาการปวดท้อง เป็นต้น เนื่องจากสารในกระหล่ำปลีมีคุณสมบัติลดการอักเสบ และกระตุ้นการสร้างเยื่อเมือกเพื่อไปปกป้องผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ ไม่ให้เกิดแผลจากการย่อยของกรด กะหล่ำปลียังมีสารที่ช่วยสมานแผลในกระเพาะ นอกจากนี้ กะหล่ำปลียังช่วยคลายเครียดได้ดีอีกด้วย

3. ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่คนไทยใช้รับประทานเป็นอาหาร เป็นยา และใช้เป็นเครื่องสำอางมาอย่างยาวนาน ด้วยคุณสมบัติที่เป็นเครื่องเทศช่วยย่อยอาหาร สามารถใช้ได้กับทุกคนแม้กระทั่งในเด็ก และสามารถใช้เป็นยาทั้งภายในและภายนอก โดยยาภายนอกใช้รักษาแผลสด ช้ำบวม แมลงสัตว์กัดต่อย ยุงกัด และปัจจุบันยังพบว่าขมิ้นชัน มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ ฆ่าเชื้อ ขับลม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น